ห่างหายจากงาน VJ ไประยะหนึ่งไปหมกมุ่นกับ Interactive Installation และคราวนี้ผู้เขียนได้พบโปรเจกต์น่าสนใจด้าน VJ อีกหนึ่งชิ้นครับ NDSVISUALS (http://www.zive.at/ndsvisuals) คือระบบที่ประกอบไปด้วยเครื่อง NDS (Nintendo DS) มาทำหน้าที่เป็นรีโมทคอนโทรลเลอร์ควบคุมการเล่นภาพของ VJ และใช้คอมพิวเตอร์รันโปรแกรม VVVV (www.vvvv.org) เป็นเครื่องสำหรับประมวลผลและเล่นภาพ ซึ่งก็อย่างที่หลายคนพอจะเดากันได้ ทั้ง NDS และคอมพิวเตอร์จะสื่อสารกันผ่าน Wi-Fi นั่นเองครับ
ตัวเครื่อง NDS มีประโยชน์อยู่หลายอย่างอยู่แล้ว เช่นน้ำหนักเบา ถือได้ด้วยมือเดียว มีหน้าจอสองจอ ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นทัชสกรีน ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนนี้มาประยุกต์ใช้ในการเล่นวีดีโอได้เยอะมาก ตั้งแต่การ Drag &Drop ไฟล์ แล้วนำมา Playback ไปจนถึงการ Scratch ก็ทำได้จากหน้าจอทัชสกรีนนี้ หรือถ้าเรายังไม่พอใจ ก็ยังสามารถเขียน Patch ขึ้นมาใหม่บน VVVV เพื่อสร้าง Application อย่างที่เราต้องการได้อีกต่างหาก
Features:
· แสดงภาพไลบรารี่วิดีโอทั้งหมดในจอล่าง
· แสดงภาพได้ 3 เลเยอร์ผ่านการ Drag & Drop
· เปลี่ยนสีและความทึบ (Opacity) ในแต่ละเลเยอร์ได้
· Blend แต่ละเลเยอร์เข้าด้วยกันได้หลายวิธี
· Scratch ไฟล์วิดีโอโดยใช้ Stylus ลากผ่านหน้าจอทัชสกรีน
· ควบคุมความเร็วในการ Playback ได้
· สามารถเขียน Patch บน VVVV เพื่อใช้งานร่วมกับ NDSVISUAL ได้
· มี Crossfader สำหรับเปลี่ยนค่าความทึบของแต่ละเลเยอร์
ในตอนนี้ยังไม่มีให้ดาวน์โหลดครับ แต่หากสนใจ ก็สามารถดาวน์โหลด VVVV มาทดลองเล่นกันก่อนได้ เพื่อว่าเราจะได้สร้าง Application ขึ้นมาใช้งานร่วมกับ NDSVISUAL ได้อย่างเต็มที่ ลองเข้าไปในเว็บของทางผู้ผลิตเพื่อรับชมวิดีโอได้ จะเข้าใจแนวทางของโปรเจคต์นี้มากขึ้น ผมรอจะได้ลองเล่นมันไม่ไหวแล้วล่ะ…
ไลบรารี่วิดีโอจะถูกนำขึ้นมาแสดงที่หน้าจอของ NDS
นำวิดีโอขึ้นแสดงได้สูงสุด 3 เลเยอร์ผ่านการ Drag & Drop
มีเมนูสำหรับเปลี่ยนสีและความทึบของแต่ละเลเยอร์
Scratch ผ่านหน้าจอได้เลย
ทำความรู้จักกับ VVVV: Video Synthesis Toolkits มันคือภาษาเขียนโปรแกรมแบบกราฟฟิก แบบเดียวกับที่เราคุ้นเคยกับ Max/MSP หรือ PD นั่นล่ะครับ หากแต่มันตัดคุณสมบัติด้านเสียงออกไป และเน้นไปที่ฮาร์ดแวร์สำหรับเร่ง 3D แทน เรายังสามารถต่อเซนเซอร์และคอนโทรลเลอร์ไปใช้งานร่วมกับมันได้ด้วย
ตัวอย่าง Patch สำหรับทำ Texture Transform
Features ของ VVVV
· เรนเดอร์ทีละเฟรมด้วย DirectX
· realtime shader development
· ใช้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัวมาช่วยรัน Patch ที่ทำงานหนัก ๆ ได้
· ออบเจกต์ทุกตัวสามารถจัดการข้อมูลแบบอาร์เรย์หรือลิสต์ได้ (ในที่นี่จะใช้คำว่า Spreads)
· dynamic mesh creation
· undo ได้ไม่จำกัด (ต่อการรันหนึ่งครั้ง)
· สนับสนุน Multi Screen
· increment time mode สำหรับใช้เรนเดอร์ในแบบ non-realtime
สนับสนุนบทความโดย The Absolute Sound & Stage