ตีพิมพ์คร้งแรก The Absolute Sound & Stage June 2007

 

clip_image002[3] clip_image004[3]clip_image006[3]clip_image008[3]

ผู้ เขียนเติมโตมากับความหลงใหลใน Animation เฉกเช่นเดียวกับเด็กในวัยเดียวกัน ในตอนนั้น ขอให้ได้เห็นภาพการ์ตูนในทีวี เป็นต้องหยุดทุกอย่างและนั่งชมโดยไม่ต้องคิดสงสัยเลยว่ามันจะมีคุณภาพดี หรือแย่แค่ไหน ขอให้เป็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ก็จะดูได้อย่างสนุกจนจบเรื่องเสมอ ความหลงใหลเดียวกันนี้พัฒนาต่อมาเป็นเกมคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันยิ่งอายุมากขึ้น ความสนใจใน Animation ก็จะสวนทางลงไปทุกที ๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความใส่ใจในเนื้อหาของสื่อที่รับชม เพราะ Animation ส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นมา มีเป้าหมายอยู่ที่เด็ก ๆ นาน ๆ ถึงจะได้ชม Animation ที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับทุกเพศทุกวัยทีหนึ่ง ซึ่งรวมไปถึงผลงานที่จะนำมาแนะนำกันในคราวนี้ครับ กับ “Animusic”

clip_image010[3]

Pogo Stick ภาพนิ่งคัดมาจาก Animusic 2

เชื่อ ว่าท่านผู้อ่านหลายท่าน คงมีโอกาสได้ชมหรือผ่านตากับตัวอย่างภาพจาก Animusic มาก่อนแล้ว (โดยเฉพาะช่วงนึงที่ห้างไอทีใหญ่ ๆ บ้านเรา ชอบเปิดเรียกลูกค้าตามร้านขาย DVD) เพราะมันไม่ใช่ของใหม่ล่าสุดครับ อัลบั้มแรกวางจำหน่ายในปี 2004 อัลบั้มที่สองตามมาในปี 2005 แต่ที่นำมาแนะนำในคราวนี้ เพราะมันมีแนวคิดร่วมสมัย ทั้งยังโดดเด่นไม่เหมือนใคร และยังสามารถพัฒนาไปให้ไกลกว่านี้ได้อีกในอนาคต

clip_image012[3]

MoreBells and Whistles จุดเริ่มต้นของ Animusic

จุด เริ่มต้นของ Animusic เกิดขึ้นในปี 1990 ครับ นาย Wayne Lytle ลูกจ้างของศูนย์ทฤษฏีแห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ได้ทำการสร้าง Animation ที่ขับเคลื่อนโดยดนตรีชื่อ “Bells & Whistles” แต่เนื่องจากมีสัญญาผูกมัด ผลงานนี้จึงเป็นของต้นสังกัดของเค้า จึงลาออกมาตั้งบริษัทเอง โดยใช้ชื่อว่า Visual Music ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น Animusic ในปี 1995

Animation ที่เราเห็นนั้นไม่ใช่สร้างขึ้นมาอย่างนั้นนะครับ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีการดีด สี ตี เป่านั้น สัมพันธ์กับเสียงดนตรีจริง ๆ แม้ว่าเครื่องดนตรีบางส่วนในงานชุดนี้ เป็นเพียงเครื่องดนตรีในจินตนาการ แต่ก็มีการออกแบบว่าแล้วว่ามันจะมีการเล่นและเสียงเป็นอย่างไร โดยใช้ MIDI เป็นตัวขับเคลื่อนทั้งดนตรีและการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์หรือแขนกลที่เล่น เครื่องดนตรีนั้น ๆ

แม้ว่าในภาคดนตรีจะไม่มีอะไรหวือหวามากนัก ส่วนใหญ่แล้วมีรูปแบบ Composition เหมือนดนตรี Pop-Rock ที่เราคุ้นเคยกันดี เหตุผลที่ดนตรีไม่หวือหวามากนักอาจเป็นเพราะต้องการให้เข้าถึงได้ทุกเพศ ทุกวัย เสียงที่ใช้ในเพลงนั้น ไม่ได้มีการออกแบบเสียงให้หลุดไปจากเสียงที่เราคุ้นเคยกัน เสียงส่วนใหญ่นั้นมาจาก Software Synthesizer บน Music Workstation โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง Patch มากมาย และใช้เอฟเฟกต์น้อยมาก ๆ ซึ่งบางเสียงฟังแล้ว เซียนซินธ์อาจบอกได้เลยด้วยซ้ำ ว่ามาจาก Patch อะไร ซินธ์ตัวไหน แม้ส่วนตัวจะชอบงานเพลงที่เน้นดีไซน์เสียง แต่ผู้เขียนไม่ได้มองจุดนี้เป็นข้อด้อยของงานนี้เลยครับ เพราะรูปแบบของการประพันธ์ที่น่าฟัง ฟังง่าย พอนำมารวมกับภาพประกอบที่ตื่นตาตื่นใจ เลยทำให้งานชุดนี้เป็นงานที่ฟัง+ชมได้บ่อย ๆ และมักจะเปิดชมในรถเสมอ ช่วยคลายอาการหงุดหงิดเวลารถติดได้ดีชะงัด

ซอฟต์แวร์ที่ Animusic ใช้ในกระบวนการผลิตนั้น แน่นอนว่าตัวหลักที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนกล จะเป็นตัวที่ทาง Animusic สร้างขึ้นมาเอง ใช้ชื่อว่า “MIDImotion” ส่วนโมเดลต่าง ๆ ที่เห็นพร้อมการเรนเดอร์แสง เงา จะทำขึ้นบน Discreet 3D Studio Max ส่วน 2D Texture จะทำบน Corel Painter, Deep Paint 3D และ Photoshop ซึ่งอย่างที่หลายคนคงจะเข้าใจตั้งแต่แรกแล้วว่า Animation ตัวนี้มีความต่างจากตัวอื่น เพราะว่ามันไม่ได้สร้างขึ้นมาทีหลังตามรูปแบบของการเล่นดนตรี แต่สร้างขึ้นมาก่อน แล้วใช้ดนตรี (ผ่าน MIDI) เป็นตัวกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหว

และแม้ว่าอัลบั้มล่าสุดจะออกมา ได้ 2 ปีแล้ว แต่อัลบั้มที่ 3 ก็กำลังอยู่ในกระบวนการผลิตอยู่ คาดว่าจะออกวางจำหน่ายในเร็ว ๆ นี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้คิดต่อยอดจากงานชุดนี้คือ “เราจะได้เห็น ซอฟต์แวร์สำหรับการเล่นดนตรีที่ให้ผลลัพธ์ออกมาพร้อมกันทั้งภาพและเสียงแบบ เดียวกับที่เราได้ชมใน Animusic แต่จากนี้ไปมันจะเป็นแบบ Realtime ที่แม้จะใช้การคำนวณจากคอมพิวเตอร์สูงมาก ๆ แต่ผลลัพธ์ก็จะออกมาเหมือนกับการเล่นของเราจริง ๆ เราเล่นดนตรีบนคีย์บอร์ดหรือ Guitar MIDI อย่างไร แขนกลในภาพก็จะเล่นตามอย่างนั้น ซอฟต์แวร์ดนตรีในวันนี้อาจถึงจุดอิ่มตัว แต่การนำไปรวมกับภาพยังมีพื้นที่เหลือให้เล่นอีกมาก พร้อม ๆ กับพัฒนาของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อให้แรงพอที่จะเรนเดอร์สิ่งที่เราเห็น ในภาพได้ในแบบ Realtime ครับ”

clip_image014[3]

ไม่ มั่นใจว่านักออกแบบเครื่องดนตรีจะเห็นว่าเครื่องดนตรีชิ้นนี้สร้างขึ้นมา ได้จริงหรือเปล่า แต่ต้องยอมรับว่าเครื่องดนตรีชุดนี้สร้างแรงบันดาลใจได้อย่างมาก

สนใจ Animusic สามารถเยี่ยมชมเว็บของผู้ผลิตได้ที่ http://www.animusic.com

หรือลองชมเพลง “Starship Groove” ในแบบ High Definition ได้ที่ http://www.apple.com/quicktime/guide/hd/animusic2dvd.html

หรือหากการ์ดจอสนับสนุน DirectX 9 แล้วต้องการทดลองเรนเดอร์แบบ Realtime ดาวน์โหลดได้ที่ http://ati.amd.com/developer/demos/r9700.html

ปล ขออภัยเรื่องภาพนะครับ เผอิญผมอยากลองเล่นเอฟเฟกต์ขอบเนียนบน Words 2007 พอนำมาโพสต์ลง Blog มีปัญหานิดหน่อยที่เกิดจากความไม่เข้ากัน