ตีพิมพ์ครั้งแรก The Absolute Sound & Stage

 

จากคอนโทรลเลอร์ที่ถูกพูดถึงและถามหากันมากที่สุดรุ่นหนึ่ง พัฒนาจนมาถึงรุ่นที่สอง เราลองมาดูรายละเอียดต่างๆ กันครับ ว่ามีอะไรที่ทำให้โดนใจถึงในระดับที่อยากเปลี่ยนหรือซื้อหามาใช้กันบ้างหรือเปล่า?

แกะกล่อง

ในฐานะผู้สอนด้านเทคโนโลยีทางดนตรี ก็จะได้ยินคำถามเกี่ยวกับอุปกรณ์ประเภทคอนโทรลเลอร์อยู่ตลอด แน่ล่ะ เราต่างก็เข้าใจว่ามันใช้ควบคุมเสียง หรือซอฟต์แวร์ทางเสียงในแง่ใดแง่หนึ่ง แต่คำถามยอดฮิตคือ มันทำอะไรได้บ้าง? มากแค่ไหน? ไปจนถึงนักเรียนมือใหม่ที่เดาไม่ออกเลยว่าจะใช้งานมันอย่างไร…

ผู้เขียนขออธิบายแบบรวบยอดโดยเชื่อมโยงกับ ZeRO SL MK II มา ณ ที่นี้เลยครับ

 

ZeRO SL MK II เป็นอุุปกรณ์ประเภท MIDI Contoller ใช้สำหรับควบคุมซอฟต์แวร์ดนตรีบนคอมพิวเตอร์ โดยต่อเข้าผ่านสาย USB เราจะเห็นปุ่มต่างๆ มากมาย เพื่อใช้สำหรับงานต่างๆ เช่นปุ่มเลื่อน (Fader) นั้นเหมาะมาก ในการควบคุมความดังของเสียงในแต่ละ Track พร้อมๆ กัน ขณะที่ปุ่มหมุนนั้นใช้งานได้กว้าง โดยใช้ควบคุมพารามิเตอร์ทั่วไป ของอุปกรณ์ดนตรี ตั้งแต่ค่าความถี่กลางของ EQ ไปจนถึงค่า Attack ของ Envelope ไปจนถึงค่า Wet/Dry ของเอฟเฟกต์เสียงก้อง (Reverb)

ขณะที่ปุ่มสีดำ 8 ปุ่มที่เรียง เหมาะสำหรับการเล่นโน้ตโดยเฉพาะเสียงกลอง เนื่องจากมันไวต่อการกดหนักเบา (Velocity Sensitive) ไปจนถึงการใช้แทนปุ่มเปิดปิดทั่วไป และปุ่มกดอื่นๆ ที่เราเห็นวางเรียงเป็นชั้นๆ สามารถใช้ในการเปิด/ปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไปจนถึงควบคุมการทำงานภายในตัว ZeRO SL MK II เอง

 

อุปกรณ์ที่เป็น MIDI Controller อื่นๆ ก็มักจะมีการทำงานที่คล้ายๆ กันกับ ZeRO SL MK II ตัวนี้ครับ เพียงแต่ ZeRO SL MK II นั้นมีความพิเศษในแง่ของซอฟต์แวร์กลางที่คอยทำหน้าที่สื่อสารระหว่างตัวเครื่องคอนโทรลเลอร์ กับซอฟต์แวร์ดนตรีทีà
¹ˆà¹€à¸£à¸²à¹ƒà¸Šà¹‰à¸‡à¸²à¸™à¸šà¸±à¸™à¸—ึกเสียงอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากต่างๆ ในการต้องคอยยุ่งกับการตั้งค่า เพราะว่าการทำงานดนตรีส่วนใหญ่แล้ว เราไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว เช่นเราอาจใช้เสียงซินธ์ เสียงเครื่องดนตรีอื่นประมาณ 20 กว่าชิ้นในหนึ่งโปรเจกต์ ยังไม่นับการใช้งานอุปกรณ์ประเภทเอฟเฟกต์หรือ Audio Processor เราจะทำการตั้งค่าให้ Controller ใช้งานได้กับอุปกรณ์เหล่านี้ทั้งหมดได้อย่างไร คำตอบคือง่ายนิดเดียวครับคือซอฟต์แวร์ “Automap Server” ซึ่งถือว่านี่เป็นจุดขายหลักของคอนโทรลเลอร์และคีย์บอร์ดของ Novation เอง

 

 

ซอฟต์แวร์ Automap Server ในปัจจุบันมีการแยกร่างออกเป็นสองรุ่น คือรุ่นธรรมดาทั่วไป ที่ใช้งานได้ดีอยู่แล้ว กับรุ่น Pro ที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่ “ซีเรียส” ขึ้นมา หากเราเป็นเจ้าของคอนโทรลเลอร์ตระกูล SL รุ่นอื่นๆ เราจำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มประมาณ $30 หรือเกือบหนึ่งพันบาท แต่โชคดีที่หากเราซื้อ ZeRO SL Mk II เราก็จะได้มาในชุดเลยครับ (เพียงแต่ผู้เขียนได้รุ่นทดลองมาเลยไม่ได้ใช้ฟังก์ชัน Pro) ซึ่งจะมีความสามารถเพิ่มมาอย่าง

การสนับสนุนคอนโทรลเลอร์ของ Novation ให้ใช้พร้อมกันมากกว่า 1 เครื่อง

การกำหนดให้ปุ่มบนคอนโทรลเลอร์ ทำงานแทนปุ่มบนคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ได้ เช่นอยากให้การเปลี่ยน Track บน DAW ที่ปกติใช้ลูกศรบนคีย์บอร์ดคอม เราสามารถให้ปุ่มบน ZeRO แทนได้ อย่างนีเป็นต้น

การทำ Auto Map ให้กับอุปกรณ์อย่าง XY-Pad (ไม่มีใน ZeRO) หรือ Expression Pedal, Control Pedal, Drum Pad ซึ่งปกติทำไม่ได้บน Automap Server เวอร์ชันปกติ

และอื่นๆ อย่าง Drag n Drop (ลากวาง) ปุ่มที่ต้องการใช้ควบคุมได้เลย และ Autoview Mode ที่จะซ่อนหน้า GUI ของ Automap Serv
er ไว้ และจะขึ้นมาเมื่อมีการขยับปุ่มบน ZeRO เท่านั้น

 

หรือพูดง่ายๆ ในภาษาวัยรุ่นก็คือการกั๊ก Feature เพื่อสร้างความแตกต่างและเพื่อเก็บเงินเพิ่มนั้นเองครับ แต่ก็อย่างที่แจ้งไว้ว่า ZeRO SL MK II นั้นจะมาพร้อมกับ Pro เลย เพียงแค่เราไป Activate การใช้งานก่อนเท่านั้น

การพัฒนาที่เพิ่มขึ้น และความแตกต่างจากเวอร์ชันก่อน

ผู้เขียนได้เป็นเจ้าของ Remote 25 SL ซึ่งเทียบได้กับ Zero SL รุ่นแรก เพียงแต่ตัดคีย์บอร์ดออกไปนั่นเองครับ ดังนั้นจึงอาจเปรียบเทียบได้อย่างคร่าวๆ ที่ส่วนที่คล้ายกัน ดังนี้ครับ

 

ปุ่มเลื่อนนั้นให้สัมผัสที่ใหญ่กว่า และมีระยะในการเลื่อนสูงกว่าเดิมสองเท่า ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดของ Fader บน Mixer และให้ความรู้สึกที่ดีกว่าครับ

ปุ่มหมุนจะมีสองแถว สองแบบเหมือนเดิมคือแบบที่เป็น Rotary หรือที่หมุนได้รอบ 360 องศาด้านบน มีการพัฒนาอย่างแรกคือไม่มีเฟืองมาสะกิด หมุนได้เนียนมาก และมี LED สีแดงวางรอบเป็น Visual Feedback บอกตำแหน่ง ขนาดที่ของเก่าไม่มีเลย

ปุ่มกดสองแถว จากเดิมจะมีเฉพาะฝั่งขวาใต้ปุ่มเลื่อน แต่ MK II จะมีด้านซ้ายอีกชุด พร้อมด้านล่างสุด สำหรับสื่อสารกับ Automap Server ตรงๆ แต่ที่ถือว่าสำคัญกว่าคือปุ่มกดทุกปุ่มมี LED สีแดงชมพูเป็น Visual Feedback ขณะที่ของเก่าไม่มีเลย ซึ่งถือว่าได้ทำงานปรับปรุงในแง่ของการใช้งานให้ดีขึ้นอีกมาก แม้ว่าเราจะมีซอฟต์แวร์ Server สำหรับการส่ง Visual Feedback กลับมาอยู่แล้ว

Cross-Fader รุ่นเดิมไม่มีเลย คราวนี้มีขนาดใหญ่เหมาะสมกับการใช้งานของดีเจ

จอ LCD ลดลงมาเหลือจอเดียวในฝั่งซ้าย แต่ไม่ได้ให้การใช้งานสะดุดนะครับ เพราะของเดิมมีสองจอก็จริง แต่การทำงานจริงๆ จะแสดงเฉพาะค่าของปุ่มที่เราสัมผัส แค่จอเดียวก็เหลือเฟือครับ และไหนจะดูจากจอคอมพิวเตอร์ได้อีก

ปุ่ม Drum Pad สีดำ (ของเก่าสีเทา) แทบตัวเครื่องมากขึ้น เป็นนูนต่