ตีพิมพ์ครั้งแรก The Absolute Sound & Stage

ยอมรับว่าตัวเองบกพร่องต่ออาชีพนักเขียนด้านเทคโนโลยีดนตรีอยู่บ้าง เมื่อพบว่าตัวเองไม่รู้จัก MIDI Keyboard ที่น่าสนใจอย่าง inspire series หรือแม้แต่ตราผู้ผลิตอย่าง icon ที่มีไลน์สินค้าในแง่ของ Digital Music และ Pro Audio แทบจะครบทุกประเภท จนได้ inspire 5 + x-synth มาวางอยู่บนโต๊ะทำงานเกือบเดือน ด้วยความอนุเคราะห์จากพี่แนน Muzic Craft (http://www.muziccraft.com/) ผู้นำเข้ามาจำหน่ายในบ้านเราอย่างเป็นทางการ เราลองมาขุดคุ้ยรายละเอียดต่างๆของมันกันครับ

ภาพรวม

รุ่นที่ผู้เขียนได้รับมา คือรุ่น inspire 5 (49 คีย์) ถือเป็นน้องเล็กที่สุดของครอบครัว inspire โดยจะมีรุ่นที่สูงกว่าคือ inspire 6 (61 คีย์) และ inspire 8 (88 คีย์) โดยมีรุ่นท๊อปคือ inspire 8PS ที่นอกจากคีย์จะเป็นแบบ Hammer เหมือน Inspire 8 แล้ว ยังมีการไล่น้ำหนักเหมือนคีย์เปียโนอีกด้วย แต่ทุกรุ่นจะมีโครงสร้างของปุ่มควบคุมเหมือนกันและเท่ากันหมดครับ จุดต่างจะอยู่ที่จำนวนของลิ่มคีย์และน้ำหนักของคีย์เท่านั้น
มอง จากรูปลักษณ์ภายนอกอย่างเร็ว ๆ แล้วต้องยอมรับว่าทำได้สวยทีเดียวครับ สีขาวล้วน ด้านข้างซ้ายขวามีส่วนเว้าลึกสวยงามโฉบเฉี่ยว โครงสร้างเป็นพลาสติกแข็ง+อลูมิเนียม ส่วนที่เป็น Control Panel และด้านข้างเป็นพลาสติก ขณะที่ด้านใต้มาจนถึงฐานของฝั่งลิ่มคีย์จะเป็นอลูมิเนียมบางๆ ให้พอรู้สึกได้ว่าแข็งแรงในระดับที่ยกไปมาได้ ความแตกต่างของวัสดุที่นำมาใช้ในส่วนต่างๆ เมื่อรวมกับความเป็นสีขาวที่ไม่เท่ากันทั้งชุด ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกๆไปบ้าง เพราะปกติผลิตภัณฑ์ที่ทำเป็นสีขาว มักจะมีความเนี้ยบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรืออย่างน้อยสีขาวก็จะมีความขาวในระดับเดียวกัน แต่ inspire 5 ใช้สีขาวไม่เท่ากันตามแต่วัสดุ
ตัว Control Panel ดูเหมือนจะทำการบ้านมาเป็นอย่างดีครับ มีการปิดข้อบกพร่องของรุ่นอื่นๆ อย่างจำนวนปุ่มที่มากกำลังดี ขนาดที่พอดีนิ้วมือ ไปจนถึงคุณภาพของ Trigger Pad ที่ทำออกมาได้ดีมาก เพื่อให้เราใช้งานได้จริงๆ โดยไม่มีกั๊ก Features ไว้ให้เราซื้อ Drum Trigger Pad ต่างหาก แถมยังมีการทำ Layers Shift ได้อีก 3 ระดับ ทำให้จาก 8 ปุ่มกลายเป็นเสมือน 24 ปุ่ม ซึ่งการทำ Layers Shift นี้ยังคลอบคลุมไปถึง Faders และ Knobs ด้วย ที่เราเห็นอยู่เช่น Faders มี 9 ชุด Knob มี 16 ปุ่มให้เรานำไปคูณ 3 ได้เลย ช่วยให้เราใช้งานได้กว้างขึ้นอีกมากครับ
ขณะที่ตัว Pitch/Mod Stick นั้นออกมาในลักษณะที่คล้ายกับของ Novation มาก รวมไปถึงตำแหน่งของ Touch Pad ด้วย แต่กรณีของ inspire นั้น จะใส่ความหนืดไปที่ตัว Joy Stick ด้วย ซึ่งคุณภาพนั้นถือว่ากลางๆ เมื่อเทียบกับคุณภาพของคีย์บอร์ดระดับ Clavia Nord แต่มันก็ดีกว่ากรณีของ Novation ที่ไม่มีความหนืดเลย เล่นกันตรงๆ ขณะที่ตัว Touch Pad นั้น จะเล่นง่ายกว่าของ Novation เช่นกัน ในแง่ที่ว่ามันอาศัยแรงกดนิดเดียว ขณะที่ Novation นั้นต้องใช้แรงกดมากกว่า (ที่ต้องออกแรงกดบ้าง เพราะ Touch Pad บนเครื่องดนตรี ไม่เหมือนกับ Touch Pad บน Laptop มันต้องการความแน่ใจว่าผู้เล่นจะไม่สัมผัสมันโดยบังเอิญครับ) ขณะที่พื้นที่ Touch Pad ของ Inspire นั้น เล็กกว่าบน Novation Remote SL 25 อยู่เล็กน้อย แต่โดยภาพรวมแล้ว ตำแหน่งการวางเลย์เอาท์ของปุ่มต่างๆนั้น ลงตัวมากๆ โดยเฉพาะในรุ่นเล็กสุดอย่าง inspire5 นั้น จะเต็มพื้นที่พอดี

รู้จักกับ X-Synth

X-Synth เป็นการ์ดเสริมที่เราสามารถซื้อต่างหากเพื่อเปลี่ยน inspire series และคีย์บอร์ดของ icon อีกหลายๆรุ่น จากคีย์บอร์ดธรรมดา ให้เป็นฮาร์ดแวร์ซินธ์ในตัว เป็นอีก Feature ที่ถือว่าเป็นจุดขายเลยครับ เมื่อเราสามารถติดตั้งการ์ดเพิ่ม เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นฮาร์ดแวร์ซินธ์ในตัวมันเองโดยไม่ต้องพึ่งคอมพิวเตอร์ แต่แทนที่จะเป็นการ์ดเสียงทั่วไป X-Synth ใช้แพล็ตฟอร์มปลั๊กอินของ Creamware SCOPE ที่พัฒนาโดย Use Audio ช่วยให้เราสามารถจัดการปลั๊กอินผ่าน Computer ได้อย่างสะดวก ทั้งยังมีปลั๊กอินให้เลือกใช้อย่างน้อย 8 ตัว ที่มีบุคคลิกแตกต่างกัน โดย 3 ตัวจะโหลดมาให้กับการ์ดแล้ว เมื่อเสียบแล้วใช้งานได้ทันทีครับ อีกหนึ่งตัวโหลดได้ฟรี และอีก 4 ตัวที่เหลือต้องจ่ายเงินซื้อผ่าน Online Shop (http://use-audio.com/options/) ซึ่งขายกันตัวละ $49 ซึ่งก็ถือว่าไม่แพงเลยครับ ตามมาตรฐานราคาของปลั๊กอินในปัจจุบัน

ตัว การ์ดจะมี Mic In สำหรับต่อไมค์เพื่อเล่นกับ Vocoder กับ Headphone Out และ Stereo Out อีกหนึ่งคู่ ทั้งยังมี USB ในตัว เพื่อสื่อสารตรงกับ Plugin Manager ตรงจุดนี้อาจทำให้ผู้ใช้สับสนเล็กๆ เพราะตัวเครื่อง inspire มันก็มี USB ของตัวมันเองอยู่แล้ว ในกรณีผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า USB บน inspire นั้น ใช้ต่อตรงกับคอมพิวเตอร์เพื่อส่ง MIDI ขณะที่ USB ของการ์ด X-Synth นั้น เพื่อสื่อสารกับซอฟต์แวร์ Plugin Manager เป็นหลักครับ

GUI ของปลั๊กอินทั้ง 4 ตัว เมื่อมองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ จากบน VOCODIZER โวโคเดอร์ เล่นกับเสียงผ่าน Mic In ที่ด้านหลังการ์ด, LIGHTWAVE เวฟเทเบิ้ลซินธ์, B4000 เล่นเสียงออร์แกน, MINIMAX จำลอง Minimoog

การติดตั้ง

เริ่ม จากการติดตั้งที่ตัว Hardware ก่อน โดยติดตั้ง X-Synth เข้ากับตัว Inspire 5 ทำได้ไม่ยากเท่าไรครับ คล้ายกับการติดตั้งฮาร์ดดิสค์บนคอมพิวเตอร์ ใช้ไขควงขันน๊อต 2 จุด จากนั้นก็เชื่อมสายแพรเข้ากับการ์ด จัดตำแหน่งให้ลงตัวแล้วขันน๊อตก็เป็นอันเสร็จสิ้น ถึงขั้นตอนนี้แล้ว เอาเข้าจริงๆก็เสียบไฟจาก Adaptor เปิดคีย์บอร์ดเล่นได้แล้วนะครับ แต่กรณีที่เราต้องการเล่นกับ Plugin Manager เพื่อจัดการปลั๊กอินอย่างง่ายๆนั้น จำเป็นต้องใช้ซอฟต์วแวร์บนคอมพิวเตอร์ช่วยในการนี้
การติดตั้งกับ คอมพิวเตอร์นั้น เนื่องจาก X-Synth ให้ซอฟต์แวร์สนับสนุนบน Windows มากับแผ่นซีดี (ขณะที่บน Mac ต้องไปโหลดซอฟต์แวร์ของ Plugiator จากเว็บ use-audio.com มาใช้แทนกันได้) ผู้เขียนทดลองติดตั้งไดร์เวอร์ผ่านซีดีที่ให้มา เสียบสาย USB เรียบง่ายมาก พอเปิดซอฟต์แวร์จัดการ ก็รู้จักกันโดยทันที กรณีบน Mac ที่เราต้องจะใช้มันเป็น MIDI Controller เราจะไม่ใช้ช่อง USB ของ X-Synth แต่จะใช้ USB ของตัว Inspire ซึ่งมันเป็น Class Compliant อยู่แล้วครับ เสียบปุ๊ป Mac OSX จะรู้จักทันที
ซอฟต์แวร์ที่แถมมากับเครื่องยังมี Ableton Live Lite 7 ด้วยนะครับ ถึงจะไม่ใช่ตัวเต็มแต่ก็ทำงานได้ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญยังมีออพชั่นให้อัพเกรดในราคาไม่แพงอีกด้วย

ซอฟต์แวร์ Plugin Manager


เปิด มาครั้งแรก กรณีผู้เขียนมันจะทำการตั้ง MIDI Input/Output ไว้ให้ตรงเลย เท่ากับเราสามารถเห็น MIDI Monitor ทำงานได้ทันทีหลังจากกดคีย์หรือหมุนปุ่มต่างๆ จุดที่ผู้เขียนเสียดายเล็กๆ คือการที่มันยังไม่ได้สนับสนุนกันและกัน (inspire กับ x-synth) กันอย่างเต็มรูปแบบกว่านี้ คือปุ่มต่างๆยังไม่ได้ทำการ map กับพารามิเตอร์ต่างๆของซินธ์ได้อย่างทันที นอกจากค่า Volume นอกจากชื่อของพรีเซตและชื่อของปลั๊กอินจะไปปรากฏอยู่บนจอ LCD ซึ่งน่าจะเป็นช่องว่างที่ผู้ผลิตอย่าง icon ทำการบ้านอีกนิด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ใช้สนุกขึ้นอีกระดับ แต่ถ้าไม่นับเรื่องนี้ การเปิดปุ๊ปแล้วเล่นได้ทันทีโดยไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์นั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีอย่างยิ่ง
การอิดิตพารามิเตอร์ต่างๆก็ทำ ได้ง่ายตามมาตรฐาน แม้หน้าตาของปลั๊กอินจะด้อยไปนิดตามมาตรฐานปัจจุบันอยู่บ้าง จุดที่น่าสนใจของซอฟต์แวร์ Plugin Manager คือระบบ Online Sound ซึ่งเราสามารถ Login เข้าไปซื้อ Plugin ผ่านโปรแกรมได้เลย โดยไม่ต้องเปิด Web Browser ขึ้นมาใหม่ ทิศทางนี้เราน่าจะได้เห็นกันบน NI Kore เวอร์ชันถัดไปเช่นกันครับ
Plugin แต่ละชุดจะมีพรีเซตเสียงมาให้อย่างละ 100 เสียง ซึ่งเราสามารถใช้ Jog Wheel บน inspire หมุนเลือกเสียงได้เลย หรือใช้ปุ่มข้างๆ Jog Wheel เลือกเสียงแบบทีละ Step ได้ด้วย ถือว่าจุดนี้ทำได้ดีกว่า CME ครับ
เรื่อง ของเสียงจากปลั๊กอินแต่ละตัวนั้น ทำได้เต็ม ครบย่านตามมาตรฐานของปลั๊กอินในปัจจุบัน แม้ว่าโทนเสียงจะให้ความรู้สึกดิจิตอลแทบทั้งหมด แต่จุดที่ดีมากๆคือเรื่องของการตอบสนองที่ทำได้เร็วมาก เทียบเท่าฮาร์ดแวร์ซินธ์อื่นๆ ตรงนี้ใครที่รันปลั๊กอิน vst ในระบบเสียงทั่วไปที่มี Latency 15-20 ms อาจพบว่านี่เป็นจุดที่น่าประทับใจมากอีกจุดหนึ่งเลยทีเดียวครับ เพราะต่ำได้ต่ำว่า 5 ms โดยวัดจากความรู้สึก คือไม่รู้สึกว่าหน่วงเลย

การกำหนดค่า MIDI Controller

ใน วันนี้ (พฤศจิกายน 2551) ยังไม่มีซอฟต์แวร์ Editor ให้ใช้ง่ายๆครับ แต่เนื่องจาก inspire 5 ทำการบ้านมาดีในแง่ของการโปรแกรมค่า MIDI Controller การตั้งค่าทุกอย่างจึงง่ายมาก กดปุ่มตั้งค่า หมุนหรือเลื่อนปุ่มที่ต้องการตั้งค่า จากนั้นก็ใช้ Jog Wheel เลื่อนหาค่าที่ต้องการแล้วกด เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อย
การตั้ง ค่าอื่นๆเช่น Velocity Curve, Zone Range ฯลฯ ก็เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งค่าพวกนี้เป็นเรื่องที่คุ้นเคยกับผู้ใช้ส่วนใหญ่อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นมือใหม่แกะกล่องอาจพบความลำบากอยู่บ้าง เพราะตัวคู่มือขนาด 2 หน้าที่แถมมาไม่ได้อธิบายเรื่องพวกนี้อย่างละเอียดนอกจากวิธีการกำหนดค่า เท่านั้นเอง อย่างไรก็ตามครับ หากท่านผู้อ่านเป็นผู้ใช้มือใหม่จริงๆ ก็ลองปรึกษากับตัวแทนจำหน่ายจนมั่นใจเสียก่อนว่าต้องการจะใช้ทำอะไรบ้าง เชื่อว่าสุดท้ายแล้วก็น่าจะใช้งานได้อย่างราบลื่นครับ เพราะมิติความลึกของผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้จะลงไปที่ตัว Plugin บน X-Synth มากกว่า ตัว Inspire ที่เป็นเพียง MIDI Keyboard

ความรู้สึกในการเล่น

ผู้ เขียนพบว่าการเล่นคีย์บอร์ดกับปลั๊กอินอื่นๆบนคอมพิวเตอร์มีความตอบสนองต่อ เวโลซิตี้ต่างกันกับการ์ด X-Synth อยู่บ้าง อาจเป็นเพราะการเซ็ตตัว Velocity Curve แยกกันหรือก็ไม่อาจทราบได้ แต่สุดท้ายตัวลิ่มคีย์ของ inspire ก็ให้สัมผัสที่ดีตัวหนึ่งเลยครับ เด้งรับมือเป็นไปอย่างธรรมชาติ ขณะที่เรายังปรับเปลี่ยน Curve ได้หลากหลายอีก ที่ชอบมากคือระบบ Keyzone ที่แบ่งได้ถึง 4 Zone แต่รุ่นเล็กอย่าง inspire 5 อาจไม่ได้ใช้เท่าไร และอีกอย่างถ้าเป็นไปได้ ผู้เขียนนิยมตั้ง Keyzone บน Software มากกว่า เพื่อที่จะใช้คียบอร์ดเซ็ตติ้งแบบเดียวตลอดโดยไม่ต้องเปลี่ยนไปไหน
ตัว Faders กับ Knobs นั้นอาจไม่มีความหวือหวาอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่ทางผู้ผลิตใส่ใจคือการทำปุ่มที่รองรับกับนิ้วมือได้อย่างลง ตัว ปุ่มหมุนอาจไม่ใช่แบบนุ่มนวล คือหมุนแล้วเราจะรู้สึกถึงฟันเฟืองข้างในบ้าง แต่ให้ความรู้สึกที่แน่นไม่หลวม ตำแหน่งการวาง Trigger Pad นั้นกำลังดีในระดับที่นำไปใช่เล่นกลองได้ ต่างจากบางรุ่นอย่าง Remote SL ของ Novation ที่ตำแหน่งของ Trigger Pad สร้างความลำบากในการเล่น เพราะวางไว้ชิดกับปุ่มหมุนเกินไป Trigger Pad ตัวนี้จึงเหมาะกับผู้ที่อยากได้คีย์บอร์ดกับ MPC Styled Pad ในตัวเดียวกันเลย
ปุ่มฟังก์ชันการทำงานจะแสดงไฟบอกสถานะด้วย ให้น้ำหนักในการกดและความแน่นกำลังดีครับ ไม่รู้สึกว่ามันหลวมๆเมื่อเทียบกับ CME และการวางตำแหน่งนั้นสวยงามลงตัวทีเดียว
ขณะที่ Joystick กับ Touch Pad ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น จึงไม่ขอกล่าวถึงอีก

สรุปผล inspire 5 และ X-Synth

การจับ คู่กันของทั้ง inspire 5 กับ x-synth น่าจะตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการ MIDI Keyboard เต็มรูปแบบและต้องการ Features Synth ในตัวเพื่อการเล่นสด หรือการใช้งานเป็น MIDI Keyboard แต่เพียงอย่างเดียว ก็ถือว่าเป็นตัวที่มีความสามารถคุ้มราคาอีกตัวหนึ่ง ส่วนการ์ด X-Synth นั้นไม่ได้อยู่อย่างโด่ดเดี่ยว ยังมีพันธมิตรอย่าง Plugiator ซึ่งถ้าแพล๊ตฟอร์มนี้โตขึ้นเท่าไร ความคุ้มค่าของ X-Synth ก็จะมากตามไปด้วยครับ

สนใจติดต่อ Muzic Craft (www.muziccraft.com) Hotline 08-5070-1549

ช่วงโปรโมชั่น inspire 5 ราคาลดเหลือ 15000 บาท X-Synth ราคาลดเหลือ 14300 บาท