เทลฮาร์โมเนี่ยมรุ่นที่สาม

จากวิกฤติในคราวนั้น เคฮิลล์จึงจำใจถอดชิ้นส่วนทั้งหมดและส่งกลับไปที่เวิร์กชอปที่ฮอลยอก และด้วยความไม่ย้อท้อ เขาจึงเริ่มสร้างเทลฮาร์โมเนี่ยมรุ่นที่สาม ซึ่งมันใหญ่กว่าเดิมอีก ทั้งยังปรับปรุงในส่วนของกระแสไฟเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเสียงทุ้มและความดังของรุ่นก่อน ๆ

ในปี 1910 เคฮิลล์ได้สาธิตเครื่องรุ่นใหม่ของเขาที่ฮอลยอก แมตซาชูเสตต์ ต่อหน้าฝูงชนเกือบ 200 คนทั้งจากนิวยอร์ก, บอสตันและเมืองอื่น ๆ คาร์ฮิลและน้องของเขาอีกสองคน ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ชื่อเดอะนิวยอร์ก เคฮิลล์ เทลฮาร์โมนิกคัมพานี่ สร้างเฟรนไชส์ขึ้นในนิวยอร์ก และนำไปติดตั้งที่อาคารใหม่ เลขที่ 535 ถนนสายตะวันตกที่ 56 เมืองนิวยอร์กในเดือนสิงหาคมปี 1911

มีการสาธิตอย่างเป็นทางการที่แคเรจี่ ฮอลล์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1912 กลับได้รับผลตอบรับไม่ดีนัก เพราะเวลานั้น Wurlitzer Organ แย่งความสนใจไปมาก รวมทั้งความนิยมของวิทยุมีมากขึ้นทุกวัน ๆ ไม่นาน บริษัทก็ติดหนี้ และถึงที่สุด เดอะนิวยอร์ก คาร์ฮิลล์ เทลฮาร์โมนิกคอมพานี่ก็ถึงขั้นล้มละลายในเดือนธันวาคม 1914

กรวยโคนที่ Cahill ออกแบบไว้

ส่งท้าย

ไม่มีแผ่นเสียงที่บันทึกการเล่นเทลฮาร์โมเนี่ยมหลงเหลืออยู่เลยครับ ในปี 1950 อาร์เธอ ที. เคฮิลล์ผู้น้อง พยายามปรับปรุงเครื่องต้นแบบที่ยังคงเหลืออยู่เพียงเครื่องเดียว แต่ก็ไม่มีใครสนใจอีกแล้ว ทำให้เขาจำใจขายออกไปเหมือนเศษเหล็กชิ้นหนึ่งเท่านั้น

เรื่องนี้จบแบบเศร้าไปหน่อย แต่แนวคิดของเครื่องนี้นั้นยังคงมีใช้อยู่จนถึงปัจจุบันครับ ผู้อ่านหลายท่านที่รู้จักกับแฮมมอนด์ ออร์แกนก็จะทราบว่าแนวคิดนี้เป็นจุดเริ่มของแฮมมอนด์ ออร์แกนนั่นเองครับ แต่ช่วงที่มีการสร้างแฮมมอนด์ ออร์แกน การขยายสัญญาณไฟฟ้าก็ใช้อย่างแพร่หลายแล้ว โทนวีลจึงเล็กลงมากพอที่จะทำให้เราสามารถเคลื่อนย้ายแฮมมอนด์ ออร์แกนไปเล่นที่ไหนต่อไหนได้สะดวกกว่าเทลฮาร์โมเนี่ยมมากเลยครับ นี่ยังไม่นับเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่ทำให้เราพกแฮมมอนด์ ออร์แกนไปไหนต่อไหนด้วยคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคเครื่องเดียวอีกนะครับ และอย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณผู้บุกเบิกทุกท่าน ที่ทำให้พวกเราได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดต่าง ๆ รวมไปถึงการได้ใช้เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาต่อยอดมากลุ่มคนเพียงไม่กี่คนที่ถือเป็นบุคคลชั้นยอดในสมัยนั้น ๆ ครับ 

ข้อมูลและภาพประกอบจาก

http://csunix1.lvc.edu/~snyder/em/dyna.html

http://www.synthmuseum.com/magazine/0102jw.html

http://emfinstitute.emf.org/exhibits/telharmonium.html

http://www.obsolete.com/120_years/machines/telharmonium/

ขอขอบคุณ

นิตยสาร The Absolute Sound & Stage