แม้ว่าซอฟต์แวร์ในแวดวงดนตรีที่ใช้กันอยู่ จะเป็นคอมเมอร์เชียลซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้เปิด Source กันเกือบทั้งหมด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Open Source มันแทรกซึมเข้ามาในชีวิตของเราๆ ท่านๆ มานานแล้ว ไม่ว่าเราจะเล่นเว็บหรือใช้โทรศัพท์มือถือ นั่นก็เป็นการข้องเกี่ยวกับ Open Source Software ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว และเร็วๆ นี้ชาว DIY Musician ก็จะสนุกสนานกันอีกมากขึ้น เมื่อมีกลุ่มคนหลายกลุ่มทั่วโลก กำลังวิจัย ออกแบบและผลิตเครื่องดนตรี แล้วเปิดรายละเอียดทุกอย่าง ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ชิ้นส่วนที่นำมาใช้ ไปจนถึง Code ที่ใช้กับ Microcontroller ซึ่งเทรนด์การขยายตัวของ Open Source Hardware/Musical Instrument นั้นมีลักษณะเป็นกราฟยกกำลัง เป็นผลมาจาก Internet Effect นั่นเองครับ ทำให้มันเป็นที่จับตามองอย่างมากในแวดวงอุตสาหกรรมเครื่องดนตรีและเป็น แทรนด์แห่งอนาคตที่ความเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคลจะยกระดับมากขึ้น และแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสร้างเครื่องมือเหล่านี้ขึ้นมาเอง หรือซื้อแบบสำเร็จที่ทำเสร็จแล้ว อาจจะมากกว่าการซื้อเครื่องดนตรีที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายใหญ่ (อย่าง Korg, Yamaha, Roland ฯลฯ) อยู่เสียหน่อยอันเนื่องมาจากความต่างด้านจำนวนในการผลิต (Economies of Scale) แต่ถ้าเรานำความสนุกที่ได้จากการเรียนรู้ คุณภาพของวัตถุดิบที่เราเลือกได้เอง ความภูมิใจในการเป็นเจ้าของเครื่องดนตรีที่อาจมีอยู่เพียงชิ้นเดียวหรือเพียงน้อยชิ้นในโลก รวมไปถึงศักยภาพในการพัฒนาเป็นธุรกิจต่อยอดไปอีกได้ ก็อาจเป็นการคุ้มค่าสำหรับหลายท่านที่เข้าไปสัมผัสกับมันครับ
ผู้เขียนรวบรวมโปรเจกต์ Open Source มาให้เป็นแนวทางคร่าวๆ สำหรับผู้สนใจ ลองดูกันครับว่ามีตัวไหนที่โดนใจบ้าง

monome (www.monome.org)

เคย เขียนถึงไปแล้วหลายต่อหลายครั้งและกำลังจะทำรีวิว monome อย่างละเอียด ดังนั้นจะไม่ขอนำมาเล่าซ้ำอีกกับเครื่องดนตรีที่อ่านออกเสียงว่า “โมโนม” ตัวนี้ แต่ที่ยกมาเป็นตัวแรก เพราะถือเป็นต้นกำเนิดของแรงบันดาลใจกับอีกหลายโปรเจกต์ด้วยครับ ที่สำคัญคือ monome นั้นมีชุมชนนักเล่นที่แข็งมากๆ ทุกคนร่วมกันสร้าง ดัดแปลง ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ให้ออกมาหลากหลาย ซอฟต์แวร์หลักที่ใช้เล่นกับ monome ก็ครอบคลุมเกือบทั้งหมดที่นักดนตรีด้านนี้ชอบเล่นกัน ตั้งแต่ Max/MSP, PD, Chuck, Processing, Flash ฯลฯ ที่สำคัญคือมีขายทั้งแบบสำเร็จรูป เริ่มต้นที่ $450 กับชุดคิทให้เรานำมาประกอบเองเริ่มต้นที่ $250 พร้อมเอกสารที่ช่วยให้เราสร้างขึ้นมาเองได้โดยใช้วัสดุท้องถิ่น

Stribe (www.stribe.org)

โป รเจกต์ Stribe นั้น ชื่อแรกที่ตั้งในระหว่างพัฒนาคือ “xonome” (ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามาจากไหน) แต่ต่อมาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันเพราะป้องกันการสับสน มันคือ 8-Channel Multitouch Controller โดยใช้ LED ถึง 1024 ตัวในการแสดง Visual Feedback ซึ่งตัว Original นั้นจะใช้เฉดสีเขียว ส้ม แดงแบบเดียวกับที่นักดนตรีคุ้นเคย แต่ถ้าเราทำเองอยากจะใส่สีอะไรก็ได้ ผลลัพธ์ที่ได้เราสามารถใช้มันควบคุม Volume แบบ Mixer หรือนำไปเล่นดนตรีเลยก็ได้ครับ
แม้จะมีแนว คิดต่อยอดมาจาก Monome โปรแกรมบางตัวของ Monome อย่าง mlr มีการดัดแปลงมาเล่นกับ Stribe ได้ แต่ก็ต้องบอกว่าอารมณ์ในการเล่นต่างกันมากครับ Stribe ใช้การสัมผัสกับเซนเซอร์ สามารถลากน้ิวได้ต่อเนื่อง ขณะที่ Monome เป็นปุ่มกด ส่วนราคาแบบสำเร็จรูปนั้นค่อนข้างสูงคือเริ่มต้นที่ $800 ส่วนชุดคิทเริ่มต้นที่ $570 ถ้าหาส่วนประกอบมาทำเองได้ ต้นทุนน่าจะลดลงมาอีกกว่าครึ่งทีเดียวครับ

MACHINECOLLECTIVE.ORG

จาก รูปแล้วอาจจะเห็นว่า MACHINECOLLECTIVE นั้น ไม่ได้มีแนวคิดที่ใหม่ซะทีเดียว หากแต่ดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้ว ให้เล็กลงจนมีขนาดน่ารัก และใช้แนวคิด Modular ให้เราสามารถนำมาเชื่อมต่อกันเป็นระบบที่น่าใช้ได้ ที่สำคัญคือ Open Source ทุกอย่าง โดยมีแกนหลักเป็น Microcontroller Platform อย่าง Arduino กับ Wiring ที่มาแรงมากในวงการประดิษฐ์ครับ โปรโตคอลที่ใช้สื่อสารก็มีตั้งแต่ตัวหลักๆ อย่าง MIDI, OSC, RS232, TCP/UDP, USB หรือแม้แต่ DMX ส่วนซอฟต์แวร์ที่เล่นก็มีตั้งแต่

จะ มีจำหน่ายทั้งแบบที่ทำสำเร็จ หรือพาร์ท หรือเปิดเผยข้อมูลให้เรานำมาทำเองได้เช่นกัน เพียงแต่เป็นโปรเจกต์ที่ยังใหม่มาก ณ เวลาที่เขียนอยู่ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับราคาครับ

midibox.org

midibox.org เป็นโปรเจกต์ขนาดใหญ่ยักษ์ ที่มีลูกหลานย่อยแตกกันออกไปมากมายครับ องค์ประกอบหลักของโปรเจกต์นี้แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ MIDIbox Hardware Platform (MBHP) คือส่่วนที่เป็นชิ้นส่วนของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัว Microcontroller, Sound Chips, LED ฯลฯ กับส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์ MIOS – The MIDIbox Operating System ซึ่งเราจะใช้มันออกแบบสร้างเครื่องมือขึ้นมาใช้ได้ตั้งแต่ MIDI Controller ง่ายๆ, MIDI Sequencer ไปจนถึง Synthesizer เลยก็ยังได้ครับ การที่เราออกแบบเครื่องมือของเราผ่าน Platform midibox จะช่วยเราประหยัดเวลาลงไปมากกว่าเดิม เพราะมีคนตัวเล็กแต่ยิ่งใหญ่หลายคนร่วมกันสร้าง Platform ขึ้นมาเพื่อพวกเราแล้วนั้นเอง
ส่วนเรื่องของ ราคานั้นไม่แน่นอนครับ อันเนื่องมาจากความหลากหลายยากง่ายของแต่ละโปรเจกต์ ยกตัวอย่างชุดคิทสำหรับชุด Sequencer เริ่มที่ประมาณ 70 ยูโรหรือเกือบๆ 4 พันบาทไทยครับ

x0xb0x (ladyada.net/make/x0xb0x)

เครื่อง ดนตรีชื่ออ่านยากตัวนี้ (อ่านว่า “ซอกบอก”) คือตัวโคลนของ TB-303 ตำนานแห่ง Acid Sound ครับ สำหรับคนที่เพิ่งรู้จัก TB-303 มันเป็น Sequencer + Synth ที่เน้นไปที่เสียงเบสครับ แรกเริ่มเดิมที Roland ต้นสังกัด ตั้งใจจะให้มันเป็นเครื่อง Accompaniment ให้กับมือกีตาร์ ไปๆมาๆ นักดนตรีอิเล็กโทรนิกส์นำมันมาใช้ในงานเพลงจนดังระเบิด และจากการที่ Roland เลิกผลิตไปแล้ว TB-303 จึงเป็นของหายากของนักสะสม ทำให้ราคาของมันไต่ระดับไปสูงกว่าสมัยที่ยังขายมือหนึ่งในตลาด เป็นเหตุผลว่าจึงมีผู้อยากสร้างของเลียนแบบขึ้นมา ซึ่งตัว x0xb0x ยังคงฟังก์ชันแบบของเดิมทุกอย่างแม้แต่เสียง แถมยังใช้ง่ายกว่าของเดิมนิดหน่อย และเรายังใช้มันควบคุมซินธ์ตัวอื่นได้ผ่าน MIDI Out มีแบงค์สำหรับเก็บเพลง 128 แบงค์ สำหรับเก็บแพทเทิร์น 64 แบงค์ ทั้งหมดจะเก็บลง EEPROM จึงไม่ต้องมีแบตเตอรี่สำหรับการแบ็คอัพเลยครับ ราคาของชุดคิทอยู่ที่ $350 แต่จะซื้อได้ ต้องลงชื่อไว้ใน Waiting List เสียก่อนครับ ถ้าซื้อเฉพาะ Microcontroller ที่โปรแกรมเรียบร้อยแล้วราคาแค่ $10 แล้วมาหา Parts แถวบ้านเราเองน่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าทีเดียวครับ ส่วนเครื่องที่ประกอบสำเร็จราคาสูงถึง $999 ครับ