Animoog for iPadAnimoog for iPad

ถือเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นที่โดดลงมาเล่นบน iOS อย่างจริงจังและต่อเนื่องครับ ผู้เขียนยอมรับว่าแม้ผู้ก่อตั้ง Robert Moog จะเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว แต่จิตวิญญาณในการสร้างนวัตกรรมและ DNA ของ Moog ยังคงอยู่และสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

Animoog นั้นเก๋ตั้งแต่วิธีการตั้งชื่อเลียนแบบซินธ์ในตำนาน Minimoog ไปแล้ว โดยยังคงแนวคิดตามชื่อด้วย ไม่ได้ตั้งชื่อ Animoog มาเท่ๆ อย่างเดียว เพราะมันใส่ระบบสร้างภาพจากเสียง (Audio Visualization/Animation) มาให้ด้วย ก็นับว่า Moog Inc ฉลาดมากในการสร้างซินธ์ตัวนี้ให้แตกต่างจากคู่แข่ง ที่มีจำนวนมากใน AppStore

การออกแบบยังเน้นความง่ายและเล่นสนุกได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องเข้าใจพื้นฐานการสังเคราะห์เสียงมาก่อน (Audio Synthesis) ซึ่งตรงนี้แม้จะแตกต่างจากแนวคิดเดิมๆ ที่คนเล่นซินธ์ต้องเข้าใจหรือทำความเข้าใจมาก่อน แต่โลกเปลี่ยนไปแล้วครับ เราต้องการให้คนใช้ผลิตภัณฑ์เล่นสนุกได้อย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อให้มีผลต่อการซื้อของที่ราคาไม่แพงแบบนี้จำนวนมาก ผู้เขียนก็หวังว่าจะไม่ได้ยินคำโต้เถียงที่ว่าซินธ์ที่เล่นง่ายคือของเล่นหรือของห่วยอีกต่อไป (ซึ่งจะว่าไปหากมองในอีกมุมหนึ่งเครื่องดนตรีมีสถานะเหมือนของเล่นอย่างหนึ่ง แม้บางชิ้นจะมีราคามากเกินกว่าจะเป็นของเล่น หรือทำเงินให้ผู้เล่นจนเลี้ยงชีพได้ก็ตาม)

เพียงเปิดแอพมาเราจะเห็นลิ่มคีย์ที่ออกแบบมาพิเศษ คือซ่อนลิ่มที่ไม่จำเป็นและเปิดเฉพาะลิ่มที่เราตั้งไว้เป็นบันไดเสียง (ตั้งค่าเริ่มต้นมาจากโรงงานเปลี่ยนได้ทีหลัง) เมื่อเรากดลิ่ม จะเป็นการเล่นเสียงพร้อมภาพทันที ภาพเบื้องต้นจะเป็นออสซิลโลสโคป แต่มีการซ้อนภาพอีกชั้นด้วยกราฟฟิกสีสันที่แสดงตัวโน้ตแบบโพลิโฟนิก มีการกำหนดสีสันให้แต่ละโน้ต และแสดงเส้นทางการเดินของเสียง ให้ผู้เล่นเห็นกันชัดๆ ว่ากำลังเล่นอะไร มีลักษณะแบบไหน ในขณะที่หน้าจอออสซิลโลสโคปนั้นสามารถใช้บังคับเนื้อเสียง (Timbre) ได้ด้วย รูปแบบการเล่นแบบนี้เพลิดเพลินโสตประสาทและสายตามากๆ

Animoog for iPhoneAnimoog for iPhoneAnimoog for iPhoneModulation Matrix

รูปแบบการสังเคราะห์เสียงนั้น ดูเผินๆ เป็น Wavetable/Subtractive Synthesis แบบ Minimoog แต่ Animoog ไม่ได้ให้เราเข้าไปเล่นในระดับต่ำสุดของซินธ์อย่างออสซิลเลเตอร์ แต่ให้เราเลือกพรีเซ็ตที่เป็น Wavetable แทนผ่านหน้า Timbre ที่ผู้ผลิตอ้างว่าไม่ใช่ Sample Playback ธรรมดาๆ (คำอธิบายแบบนี้มันต้องเป็น Synth Freak รุ่นเก่าเท่านั้นที่สนใจ) ทาง Moog เรียกระบบนี้ว่า Anisotropic Synth Engine (ASE) ผู้เขียนไม่ค่อยสนใจคำเพื่อการตลาดแบบนี้เท่าไร เพราะสุดท้ายแล้วมันคือการผสมผสานจากสิ่งเดิมๆ ยอมรับว่าพรีเซตเสียงชุดแรก แม้จะทำมาอย่างดีเยี่ยม แต่ก็มีไม่มากนัก Moog ใช้การขายเพิ่มผ่าน In App Purchase ตามโมเดลของ NI (Korg ยังไม่เลือกขายของแบบนี้) แต่คิดว่าต่อไปจะมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะราคาแอพเริ่มต้นนั้นถือว่าถูกมาก การขาย “เสียง” จะเป็นรูปแบบการหารายได้ที่ดีทางหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาครับ

ด้านเอฟเฟกต์ หลักๆ ที่ขาดไม่ได้เลยคือ Moog Filter อันโด่งดัง มี Delay Module และ Thick Module (ทำเสียงหนา เช่น Detune-Unison) ที่ทั้งหมดเป็นพื้นฐานของ Subtractive Synth อยู่แล้ว แต่ทีเด็ดอยู่ที่สองอย่างนี้ครับ Path Module กับ Orbit Module ทั้งสองตัวนี้จะเป็นการควบคุมภาพบน X/Y Panel และส่งผลตรงถึงเสียงซึ่งจากการเล่นแบบเรียลไทม์นั้น น่าประทับใจมากๆ แต่ที่ผู้เขียนยอมรับว่าเหนือความคาดหมายคือ Modulation Matrix ที่คิดไว้แต่แรกว่าคงไม่มี เนื่องจากต้องการเก็บ Synth ตัวนี้ไว้ให้ง่ายที