Bandcamp VS SoundClound

จาก YouTube (วิดีโอ) ถึง Flickr (ภาพถ่าย) เรามาดูสมรภูมิ Music Sharing/Publishing กัน

เวลาที่เราคิดถึงเว็บ 2.0 สำหรับการแชร์วิดีโอหรือการแชร์ภาพถ่าย
เราจะเห็นตัวเลือกชัดเจนว่าเว็บไหนโดดเด่นเหนือใคร
แต่ถ้าพูดถึงเว็บฝากเพลง หรืออาจนึกถึงตัวเลือกอย่าง MySpace, Virb,
iMeem, Fuzz, ReverbNation, Fairtilizer,
Pistachio Nut, Red Pistachio Nut, and Natural, All Natural White
Pistachio Nut และอื่นๆอีกมากมาย
แต่ทั้งหมดนี้เราต้องบอกว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นเว็บที่ “ใหญ่”
กว่าแค่การฝากเพลง และต้องการจับผู้ใช้ปริมาณมากๆ อีกทั้ง Features
ของการฝากเพลงไม่มีอะไรที่โดดเด่นไปกว่ากัน นอกเสียจาก 3 ขั้นตอน
“อัพโหลด” “ฟัง” “คอมเมนต์” เท่านั้น

ในคราวนี้ผู้เขียนมีเว็บ 2 เว็บที่มี Features โดดเด่น เหมาะสำหรับคนทำงานเพลงทุกคนครับ เริ่มจาก

bandcamp.mu

BandCamp.mu เป็นที่ให้บริการฝากเพลง ขายเพลง เหมาะสำหรับศิลปินเดี่ยว
ศิลปินกลุ่มไปจนถึงผู้จัดการวงครับ โดยเราสามารถเปิด Account
เพื่อใช้บริการได้ฟรี ขายเพลงโดยตั้งราคาเอง หรือให้ผู้ซื้อตั้งราคาแบบ
Radiohead ก็ยังได้ มีหน้าเว็บของตัวเองพร้อมโดเมน ปรับแต่งได้เอง
ใช้งานง่าย เมื่อเราอัพโหลดไฟล์ใน Format WAV หรือ AIFF ระบบจะทำการ
Transcode เพลงของเราไปเป็น Format อื่น ๆ ได้อีกหลาย format
หลายความละเอียด ไม่ว่าจะเป็น mp3, aac, FLAC, Apple Lossless
ทั้งยังแนบปกเพลงและ meta data อื่นๆ เข้าไปในไฟล์เพลงให้โดยอัตโนมัติ

จุดที่น่าสนใจมากคือระบบวิเคราะห์การฟังของแฟนเพลง
เพื่อช่วยให้เราปรับปรุงการขายเพลงได้เหมือนร้านค้าออนไลน์ทันสม้ยอื่นๆอีก
ด้วย ไม่พูดถึง Features อื่นๆ ที่มีกันจนเป็นเรื่องปกติแล้ว อย่างการแปะ
Media Player ไว้ตาม Blog Service

ใช้งานง่าย แถมยังไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลย จะถูกหักนิดหน่อยก็ต่อเมื่อเราขายเพลงได้เท่านั้น ดีและฟรีแบบนี้ แนะนำจากใจเลยจริงๆ

SOUNDCLOUD.COM

บอกได้เลยว่าถ้าคุณชอบ Flickr คุณต้องชอบ SoundCloud
ครับ เพราะแนวคิดคล้ายกันมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจในเรื่องของ User
Interface ไปจนถึงโมเดลในการทำธุรกิจ จะต่างก็เพียง Flickr เป็นภาพถ่าย
ส่วน SoundCloud คือเสียงและดนตรี

SoundCloud ให้เราสมัครใช้ได้ฟรีครับ (จำกัดไว้ที่ 5
tracks ต่อเดือน มากกว่านั้นต้องใช้บริการแบบเสียเงิน)
จุดเด่นที่ชอบมากๆคือตัว Audio Player นั้นแสดงเวฟฟอร์มให้เห็นกันด้วย
(พวกเราคุ้นเคยกันดี)
แต่มากกว่านั้นคือการที่ให้ผู้ฟังสามารถเขียนคอมเมนต์ได้ในจุดต่างๆของเวฟ
ฟอร์ม แบบเดียวกับที่เราคอมเมนต์ตำแหน่งต่างๆของรูปภาพบน flickr เลย
ซึ่งก็ต้องยกย่องในส่วนนี้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของการฟังเพลงในยุค Web 2.0
เลยครับ เรายังสามารถเปลี่ยนแปลงสีสันของเวฟฟอร์มได้เองด้วย

ระบบการอัพโหลดเพลง ยังเปิดให้คนอื่นๆ ส่งเพลงมาให้เราด้วยการทำระบบ Drop
Box ที่เราสามารถนำมันไปวางได้ในเว็บหรือ Blog ของเรา
แล้วผู้ส่งสามารถโยนเพลงมาวางใส่ Drop Box ได้เลย
ซึ่งแนวคิดนี้ผู้เขียนเคยเห็นมาก่อน จากบริการ file sharing ยุคใหม่อย่าง
Box.net แต่เมื่อนำมาใช้กับเพลงโดยตรง
ก็ถือว่าเยี่ยมเพราะไม่มีใครเคยทำมาก่อนครับ

ขณะที่การอัพโหลดผ่านเว็บปกติก็ทำได้เร็วไม่แพ้กัน
เพราะเว็บระดับนี้จะใช้โครงสร้าง Cloud Computing
บนเน็ตเวิร์กความเร็วสูงอยู่แล้วครับ ผลลัพธ์สุดท้ายก็จะเป็น Audio Player
พร้อมเพลย์ลิสต์หน้าตาสวยงามมาก แล้วนำไปแปะไว้ตามเว็บหรือ Blog
ที่ไหนก็ได้ที่ต้องการ Features ที่ขาดไม่ได้ในยุคเว็บ 2.0 นั้นคือการเปิด
API (http://soundcloud.com/api) ให้เราสร้างระบบเชื่อมต่อกับ SoundCloud
ได้ด้วย ตัวอย่าง Application ตัวแรกคือ RadioCloud ครับ
(http://radioclouds.com/)

ฟังดูแล้วถือว่าน่าใช้มาก แต่มันก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับ Free Account
คือการที่เราอัพโหลดได้เดือนละ 5 เพลง
ซึ่งก็น่าจะพอดีกับการทำเพลงของคนปกติ ขณะที่การอัพเกรดไปใช้แบบ Pro
Account นั้น ถือว่าเป็นบริการที่ค่อนข้างแพงเลยครับ
เมื่อเทียบกับเว็บฝากรูปอย่าง Flickr
แต่แน่นอนว่ามันใช้พื้นที่ต่างกันเยอะมาก
มันจึงเหมาะกับค่ายเพลงมากกว่าศิลปินทั่วไปครับ เริ่มต้นที่ 9
ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 420 บาท) ต่อการอัพโหลด 15 เพลงต่อเดือน
ไปจนถึงเดือนละ 59 ยูโรต่อเดือน หรือประมาณ 2800 บาท
ต่อการอัพโหลดเพลงอย่างไม่จำกัด และการซัพพอร์ทเต็มรูปแบบ ถึงจะแพงอย่างไร
แต่ถ้าใครทำธุรกิจกับเพลงจริงๆ ก็ถือว่าคุ้มค่าครับ

ผู้ใช้อย่างเรา ถ้ามีโอกาสก็ใช้มันสองเว็บเลยครับ
เว็บหนึ่งไว้สำหรับขายเพลง
อีกเว็บใช้สำหรับรับส่งให้เพื่อนร่วมงานแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานได้มี
ประสิทธิภาพมากๆ